(อังกฤษ: Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะกล่าวถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของประเทศทางฝั่งตะวันตก
การแสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องเป่าลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) ไทรแองเกิล (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง
ชีวประวัติคีตกวีสำคัญของโลก
ลุดวิก ฟาน บีโทเฟน คีตกวีแห่งโลกเงียบ (ค.ศ.1770-1827)
ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน ใน ค.ศ. 1820
ตอนอายุ 17 ปี เคยไปเรียนดนตรีกับโมสาร์ทที่เวียนนา แต่เรียนได้ไม่นานก็ต้องกลับบ้านเกิดเนื่องจากแม่ป่วย จนแม่เสียชีวิต 5 ปีต่อมา ก็มาเรียนดนตรีกับไฮดน์อีกครั้งที่เวียนนา แล้วก็อยู่เวียนนาจนสิ้นชีวิต
ช่วงแรกของชีวิต มีชื่อเสียงในฐานะนักเปียโน จนอายุ 28 ปี พบว่าตัวเองเริ่มมีอาการหูหนวก และดนตรีนี่แหล่ะทำให้บีโทเฟน มีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ และเค้าได้ประพันธ์ซิมโฟนีชิ้นแรก ตอนอายุ 29 ปี หลังจากมีอาการหูหนวกแล้ว
ผลงานการประพันธ์ของบีโทเฟน ไม่เป็นที่นิยมในช่วงแรก เพราะเป็นงานประพันธ์ที่ไม่ยึดแบบแผน เป็นแนวอิสระ และยังไม่เป็นที่นิยมในยุคสมัยนั้น
ผลงานซิมโฟนีหมายเลข 2 เป็นผลงานที่เต็มไปด้วยความสุขสงบ แต่บีโทเฟนประพันธ์ในเวลาที่เขากำลังเป็นทุกข์อย่างสาหัส
บีโทเฟน ประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลข 3 เพื่อเป็นเกียรติแด่ นโปเลียน โดยตั้งชื่อ ผลงานชิ้นนี้ว่า โบนาปาร์ต แต่ภายหลัง เมื่อนโปเลียนสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ บีโทเฟนก็เสื่อมศรัทธาต่อนโปเลียน เปลี่ยนชื่อผลงานซิมโฟนีหมายเลข 3 เป็น เอรอยคา ซึ่งแปลว่า กระบวนแห่ศพ ผลงานชิ้นนี้ของบีโทเฟน เป็นจุดเปลี่ยนจากดนตรียุคคลาสสิค สู่ยุคโรแมนติก และบีโทเฟน ถือว่าเป็นนักประพันธ์คนสุดท้ายในยุคคลาสสิค
ซิมโฟนีหมายเลข 5 เป็นงานดนตรีคลาสสิคที่ได้รับความนิยมสูงสุด เป็นบทเพลงแห่งพลังและความงดงาม เพลงนี้เริ่มต้นด้วยการใช้ตัวโน๊ตที่คุ้นหู 4 ตัว "แท้น แท้น แท้น แถ่น"
ซิมโฟนีหมายเลข 6 มีชื่อว่า ซิมโฟนีแห่งชนบท แสดงให้เห็นถึงความรักธรรมชาติของบีโทเฟน นอกเหนือจากความสุขสงบของธรรมชาติ ยังมีท่อนที่แสดงถึงพายุโหมกระหน่ำด้วย
ซิมโฟนีหมายเลข 9 เป็นผลงานซิมโฟนีชิ้นสุดท้ายของบีโทเฟนที่ประพันธ์จบ โดยใช้เวลาถึง 6 ปี และยังเป็นช่วงที่บีโทเฟนมีอาการหูหนวกสนิทแล้วด้วย เป็นอัญมณีแห่งซิมโฟนี ไม่ยึดติดรูปแบบ และเป็นผลงานที่หลุดออกจากยุคคลาสสิกอย่างแท้จริง ผลงานชิ้นนี้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก "บทเพลงแห่งความอภิรมย์" และถูกเลือกเป็นบทเพลงประจำชาติยุโรปด้วย
ผลงานซิมโฟนีของบีโทเฟน มีน้อยชิ้น ต่างจากคีตกวีอื่นๆที่มีผลงานประพันธ์มากมาย แต่ว่าแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์โดดเด่น เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองทุกชิ้น
นอกจากผลงานซิมโฟนี บีโทเฟนยังประพันธ์ผลงานโซนาต้า คอนแชร์โต้ และอื่นๆอีกหลายชิ้น สำหรับผลงานโอเปร่า บีโทเฟนประพันธ์ไว้เพียงชิ้นเดียว ชื่อว่า ฟิเดลิโอ แม้จะไม่เป็นที่นิยม แต่ก็เป็นที่ยอมรับในคุณภาพ
ชีวิตรักของบีโทเฟน ไม่ประสบความสำเร็จ เค้าไม่ได้แต่งงานกับใครเลย ทั้งชีวิตพบแต่ความผิดหวังในเรื่องความรัก
บีโทเฟนเสียชีวิตวันที่ 26 มีนาคม 1827 ท่ามกลางพายุฝนฟ้าคะนอง และพิธีศพของบีโทเฟน มีผู้มาร่วมเคารพศพมากกว่า 20000 คน
ยุคสมัยดนตรี
ดนตรียุคกรีก 850 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลักฐานดนตรีกรีกถูกทำลายไป มีเหลือไว้แค่เพียงศัพท์บางคำ
ดนตรียุคโรมัน 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นบทเพลงเพื่อการทำสงคราม
ดนตรียุคกลาง ค.ศ.450-1450 ดนตรีเรียบง่าย เป็นบทสวดทางศาสนา
ดนตรียุคเรอแนซังส์ ค.ศ.1450-1650 เป็นยุคทองของดนตรี
ดนตรีสมัยบารอก ค.ศ.1650-1750 ยุคแห่งการประดับประดาพิสดาร การสร้างเพลงได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาคริสต์
ดนตรียุคคลาสสิก ค.ศ. 1750-1827 มีฉันทลักษณ์การประพันธ์เพลงมากขึ้น มีเครื่องดนตรีใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น เปียโน เป็นยุคของราชสำนัก
ดนตรียุคโรแมนติก ค.ศ.1827-1900 มีความเป็นอิสระ ในช่วงปลายยุคมีลักษณะของชาตินิยมเกิดขึ้นสูง มีเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ
ยุคดนตรีร่วมสมัย ค.ศ.1900-ปัจจุบัน เป็นยุคที่ต้องการเสียงใหม่ๆ ให้อารมณ์ความรู้สึกแปลกๆใหม่ๆ
คีตกวีแห่งศตวรรษ
คริสต์ศตวรรษที่ 17 ปาเลสตรินา (อิตาลี), คอเรลลี (อิตาลี), บาค (เยอรมณี), วิวาลดิ (อิตาลี), ฮันเดล (เยอรมณี), กูเปแรง (ฝรั่งเศส)
คริสต์ศตวรรษที่ 18 ไฮดน์ (ออสเตรีย) บิดาแห่งซิมโฟนี, บีโทเฟน (เยอรมณี) ผู้ประพันธ์ดนตรีอิสระแท้จริงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ดนตรี, เวแบร์ (เยอรมณ๊), โมซาร์ท (ออสเตรีย) ผู้ได้รับสมญานามว่า "เด็กมหัศจรรย์", กลุค (ออสเตรีย)
คริสต์ศตวรรษที่ 19 ชูเบิร์ต (ออสเตรีย) เจ้าแห่งเพลงร้อง, บราห์มส์ (เยอรมณี) หนึ่งใน 3 บี ผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกดนตรี ซึ่งได้แก่ บาค บีโทเฟน และ บราห์มส์, บิเซต์ (ฝรั่งเศส), ไชคอฟสกี (รัสเซีย), โชแปง (โปแลนด์), ชูมานน์ (เยอรมณี)
ศัพท์เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิค
ซิมโฟนี คือบทประพันธ์ดนตรีขนาดใหญ่ บรรเลงด้วยวงออร์เคสตรา โดยทั่วไปจะมีสี่ท่อน ซิดโฟนีเร่มต้นชัดเจนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยได้รับอิทธิพลมาจากเพลงโหมโรงของอิตาลี คีตกวีผู้มีชื่อเสียงทางด้านซิมโฟนีคือ ไฮดน์เป็นบิดาแห่งซิมโฟนีเนื่องจากเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการปรับปรุงกฎเกณฑ์ การประพันธ์ซิมโฟนี, โมซาร์ท และ บีโทเฟน
ซิมโฟนี ออร์เคสตรา คือ วงดนตรีที่บรรเลงเพลงประเภทซิมโฟนี จะมีเครื่องดนตรี 4 ประเภทคือ เครื่องสาย เครื่องเป่าไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องตี
คอนแชร์โต้ คือการประชันดนตรี โดยมากจะหมายถึงการประชันระหว่าง การเดี่ยวเครื่องดนตรี 1 ชิ้น กับวงออเคสต้า, เดี่ยวไวโอลินกับวงออเคสตรา คือ ไวโอลินคอนแชร์โต้, เดี่ยวเปียโนกับวงออเคสตรา คือ เปียโนคอนแชร์โต้ และยังมี โอโบคอนแชร์โต้ นอกจากนั้นยังอาจหมายถึงการประชัดดนตรีวงเล็กๆ กับวงออเคสตร้าได้อีกด้วย
โซนาต้า คือการเดี่ยวเครื่องดนตรีชนิดเดียว หรือ การเดี่ยวเครื่องดนตรีกับมีเปียโนคลอ โดยมากจะเป็นบทเพลงที่เล่นกับเครื่องดนตรีไม่เกิน 2 ชิ้น
ที่มา
th.wikipedia.org/wiki/ซิมโฟนีหมายเลข_5_(เบโทเฟน) -
Test...
ตอบลบ-- -- -
ตอบลบ